กรณีที่มีนักท่องเที่ยวและนักเดินป่าเกิดล้มป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ ติดเชื้อราในปอดนับ 10 ราย หลังจากได้เดินทางท่องเที่ยวธรรมชาติในบริเวณป่าลึก เขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง ต.นาหลวงเสน อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช และได้มีการเข้าไปสำรวจในโพรงไม้ใหญ่ หรือ ต้นช้าม่วง ซึ่งมีค้างคาวจำนวนมากอาศัยอยู่ในโพรงไม้ดังกล่าว และได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ จนพบว่ามีเชื้อราในปอดและจะต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วนตามอาการของรายบุคคล
จากเหตุดังกล่าว ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา นายถิรนาท เอสะนาชาตัง ซึ่งเป็นนายอำเภอทุ่งสง พร้อมด้วยฝ่ายปกครองปลัดอำเภอ และ นาย ภัทรพล มณีอ่อน นายสัตว์แพทย์พร้อมเจ้าหน้าที่กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบโพรงไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง ต.นาหลวงเสน อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช โดยในเบื้องต้นพบว่า เป็น ต้นช้าม่วง อายุกว่า 100 ปี มีความสูงประมาณ 40 เมตร โดยที่ต้นช้าม่วงนี้มีโพรงสูงประมาณ 2-3 เมตร และมีค้างคาวจำนวนมากอาศัยอยู่ภายใน จึงได้มีการทำการเก็บตัวอย่างดินและมูลค้างคาวในโพรงเพื่อนำไปตรวจสอบ ก่อนที่จะทำการปิดสถานที่ ติดป้ายเป็นเขตห้ามเข้าเด็ดขาด
ช้าม่วง เป็นพืชไม้หายาก แม้ว่าจะมีการกระจายกว้างแต่พบไม่บ่อยนัก ส่วนใหญ่จะขึ้นตามป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ใกล้ริมห้วยจนถึงสันเขาหรือยอดเขา ที่ระดับความสูงไม่เกิน 800 เมตร มักจะพบต้นช้าม่วงในจังหวัดตาก ลงมาตามแนวตะวันตกจนถึงภาคใต้ของไทย
ต้นช้าม่วง หรือ Anisoptera scaphula (roxb.) kurz มีลักษณะพฤกษศาสตร์ วงศ์ไม้ยาง เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สามารถสูงได้ถึง 40 เมตร มีเปลือกสีน้ำตาลเทา แตกเป็นสะเก็ดบางเปลือก ชั้นในจะมีสีส้มสลับขาว กิ่งอ่อนเกลี้ยง และมีสะเก็ดสีสนิมที่ปลายยอดเล็กน้อย มีผลเป็นทรงกลม และในส่วนของใบจะมีลักษณะเป็นรูปใบหอก หลังใบมันเงา เส้นกลางใบนูนเด่นชัด และท้องใบเกลี้ยง
“ช้าม่วง” เป็นชื่อท้องถิ่นของภาษาใต้ ซึ่งเป็นชื่อทางราชการ มีความหมายว่า คล้ายมะม่วง เนื่องจากลำต้นและใบของต้นช้าม่วงมีลักษณะคล้ายกับมะม่วงนั่นเอง
สาเหตุที่ต้นช้าม่วงและบริเวณดังกล่าวถูกประกาศเป็นเขตห้ามเข้านั้น เนื่องจากเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของค้างคาวจำนวนมาก ทำให้มีมูลค้างคาวจำนวนมหาศาล ทำให้กลายเป็นแหล่งของเชื้อราฮิสโตพลาสมา แคปซูลาตุม หรือ Histoplasma casulatum ก่อโรคปอดหรือโรคระบบทางเดินหายใจ “โรคฮิสโตพลาสโมซิส”
ฮิสโตพลาสโมซิส หรือ Histoplasmosis คือ โรคระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราฮิสโตพลาสมาฯ ที่มีอยู่ในมูลค้างคาวหรือนก โดยการสูดดมเอาสปอร์เชื้อราดังกล่าวเข้าสู่ร่างกาย และเชื้อลงสู่ปอด ซึ่งผู้ที่ได้รับเชื้ออาจไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่บางรายก็อาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากมีการแพร่กระจายของเชื้อราเข้าสู่กระแสเลือดหรือลุกลามไปยังส่วนอวัยวะอื่น ๆ เช่น สมอง ตับ ม้าม ไขกระดูก ต่อมหมวกไต เป็นต้น
ผู้ติดเชื้อโรค Histoplasmosis อาการมีดังนี้ (ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอาการ)
หากมีการลุกลามแพร่กระจายทางกระแสเลือด จนก่อให้เกิดการติดเชื้อฮิสโตพลาสโมซิสระยะแพร่กระจาย (Disseminated histoplamosis) ซึ่งจะมีอาการต่าง ๆ แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับติดเชื้อส่วนอวัยวะใด เช่น
และอาการต่าง ๆ เหล่านี้ก็อาจรุนแรงจนเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง อย่างผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเอดส์ เป็นต้น
สำหรับผู้ป่วยโรค Histoplasmosis รักษาตามแนวทาง Infectionus Disease Society of America ตั้งแต่ ค.ศ.2007 ด้วยการให้ Liposomal amphotericin B ขนาด 5 มิลลิกรัม / น้ำหนัก / วัน ซึ่งรวมแล้วให้ยาประมาณ 175 มิลลิกรัม / กิโลกรัม เป็นเวลานาน 4 – 6 สัปดาห์ และอาจมีการต่อด้วย Itraconazole ขนาด 200 มิลลิกรัม จำนวน 2-3 ครั้ง / วัน และอาจให้ต่อเนื่องตามระยะอาการจนครบ 1 ปี หรือจนกว่าผลตรวจน้ำไขสันหลังจะเป็นปกติ
แม้ว่า โรคฮิสโตพลาสมาจะไม่ใช่โรคติดต่อร้ายแรงในขณะนี้ แต่การไม่ประมาทจนเกิดการชะล่าใจจะดีที่สุด เพื่อไม่ให้เป็นเหตุการเกิดโรคอุบัติใหม่ จนกระทบต่อระบบชีวิตและเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างเช่นที่ผ่านมา หากต้องไปอยู่ในสถานที่เสี่ยงต่อปัจจัยก่อให้เกิดโรคอันไม่คาดคิด เช่น แหล่งธรรมชาติ ในถ้ำ ในที่รกร้าง หรือแม้แต่สถานที่ชุมชนและแออัด ควรสวมหน้ากาก สวมถุงมือ (หากต้องมีการสัมผัส) และวิธีใด ๆ ก็ตาม ที่เป็นการป้องกันตามกำลังความรู้เป็นดีที่สุด